|
โครงการ ต้านอบายมุขและสิ่งเสพติด
หลักการและเหตุผล
ตามแผนพัฒนาชาติระบุไว้ว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรของธรรมชาติอันดับแรกที่จะต้องพัฒนาก่อน อดีตกาลที่ผ่านมาชาติไทยได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่า สยามเมืองยิ้ม เนื่องจาก มีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน เป็นหนึ่งภายใต้สามสถาบัน หลักอย่างแน่วแน่น
ปัจจุบันเกิดการผันแปร ทางเทคโนโลยี ภาวะเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นตัวแปรให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทุกด้าน สังคมไทยจึงกลายเป็นสังคมคนเมืองอุตสาหกรรม ต้องเอาตัวรอดจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงทุกวัน ยิ่งไปกว่านั้นยาเสพติดก็ระบาดทั่วบ้านทั่วเมือง ก่อเกิดปัญหาในสังคมไม่รู้จบ ซึ่งตัวแปรดังกล่าว เป็นผลโดยตรงกับความมั่งคงของชาติ ดังนั้นกิจกรรมใดที่สามารถปลูกจิตสำนึกของสังคมไทยให้กลับมาสงบร่มเย็นได้ ทุกหน่อยงานรีบรงณรงค์อยู่แล้ว กิจกรรมนี้จึงได้เกิดขึ้นเป็นโครงการต้านอบายมุขและสิ่งเสพติด เพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องของสิ่งเสพติด อันจะนำพาชีวิตของผู้พัวพันอยู่ สู่แนวทางการดำเนินชีวิตที่ล้มเหลวและไม่สามารถกลับคืนสู่ชีวิตเดิมได้
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับห่างไกลสิ่งเสพติด
๒. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับเห็นคุณค่าของความเป็นไทย
๓. เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกสู่แนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
เป้าหมาย
เด็กและเยาวชนและผู้ที่มีความสนใจทั่วไป
วิธีดำเนินการ
๑. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและทางโรงเรียนทราบ/ ผู้ที่สนใจทั่วไป
๒. เปิดรับสมัคร
๓. ให้การอบรมตามตารางการอบรมที่กำหนดไว้
๔. ให้เด็กและเยาวชนที่เข้าค่ายได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์/ อบรมธรรมะแบบมีส่วนร่วม
ระยะเวลาดำเนินการ
เป็นโครงการต่อเนื่อง
สถานที่ดำเนินการ
ตั้งรับ คือ วัดป่าจำกู่ ต.ศรีบัวบาน อ.เมือง จ.ลำพูน,สถานที่ที่
เชิงรุก คือ นอกสถานที่
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พระอธิการ สมนึก จรโณ (ทับโพธิ์)
งบประมาณ
เงินจากกลางสงฆ์วัดป่าจำกู่
เงินจากมูลนิธินิรามิสสุข
การติดตามประเมินผล
๑. ใช้แบบสอบถาม
๒. สัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง
๓. การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการคำนวณเชิงสถิติ
ผลสัมฤทธิ์
๑. ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นพิษภัยของสิ่งเสพติด
๒. ประชาชนเห็นคุณค่าของความเป็นไทย
๓. ได้ปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนสู่แนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
ภาพตัวอย่างจากโครงการ ต้านอบายมุขและสิ่งเสพติด
|
|